Thursday, February 7, 2008

:: u n z e e n :: หญิงไทยเฮ!! เลือกใช้"นาง"หรือ"นางสาว"ได้ตามความสมัครใจแล้ว

[]

[]

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 28 ก. ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ได้ตีพิมพ์ พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551   โดยมาตรา 5 ระบุว่า หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วจะใช้คำนำหน้านามว่า "นาง"หรือ"นางสาว"ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว
 
ส่วนมาตรา 6 ระบุว่า หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า"นาง"หรือ"นางสาว"ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว
 
 
 
พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อย ยี่สิบวันนับแต่วันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบการใช้คำนำหน้านามหญิงเป็นอ ย่างอื่นตามที่มี
กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔ หญิงซึ่งมีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้
คำนำหน้านามว่า "นางสาว"
มาตรา ๕ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า "นาง" หรือ "นางสาว"
ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบีย นครอบครัว
มาตรา ๖ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้ คำนำหน้านามว่า "นาง" หรือ "นางสาว" ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์รักษาการตามตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
 
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การใช้คำนำหน้านามของหญิงที่
จดทะเบียนสมรสแล้ว และหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว และต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงต้องใช้คำนำหน้านามคำเดียว โดยมิอาจเลือกได้ตามความสมัครใจ ทำให้เกิดผลกระทบต่อหญิงดังกล่าวในการดำรงชีวิตประจำวัน  อาทิ การประกอบอาชีพ การศึกษาของบุตร และการทำนิติกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้การใช้คำนำหน้านามในลักษณะดังกล่าวของหญิงมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ สมควรกำหนดให้หญิงมีทางเลือกในการใช้คำนำหน้านามตามค วามสมัครใจซึ่งเป็นการสอดคล้องกับการเลือกใช้นามสกุลตามกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 

No comments: