ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle, |
ชื่อวงศ์ | Gramineae |
ชื่ออังกฤษ | Citronella grass |
ชื่อท้องถิ่น | จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด, ตะไคร้แดง |
1. ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง
น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ (1) ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม. ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5 % น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5% จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม. (2, 3) และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. (4) และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1 % สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% (5) สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย (6)
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ดีในการไล่ตัวอ่อนของเห็บ โดยให้ผลในการไล่ได้นานถึง 8 ชม. (7) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่จะมาทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ได้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว (8) ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่ผีเสื้อกลางคืน (9) และพวกแมลงบินต่างๆ ได้ (10)
2. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุง
น้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor (11, 12), cineol (13-15), eugenol (16-19), linalool (20), citronellal, citral (17)
3. การทดลองทางคลินิกใช้ในการไล่ยุง
มีการศึกษาผลของครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 14% ในการทาป้องกันยุงรำคาญกับอาสาสมัคร 40 คน เปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา พบว่าสามารถป้องกันยุงได้ 13 คน ในอาสาสมัครที่ทาครีม 20 คน ขณะที่อาสาสมัครที่ทาครีมที่ไม่มีตัวยา จะไม่สามารถป้องกันยุงได้ (21)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม 14% พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ (dimethyl phthatate 20% + diethyl toluamide 5%) (22)
4. ฤทธิ์ฆ่าแมลง
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม เมื่อนำมารมเมล็ดถั่ว นาน 72 ชม. มีผลฆ่าแมลง Callosobruchus maculatus ที่จะมาทำลายเมล็ดถั่วได้ น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยไม่มีผลต่อการงอกของถั่ว (23) แต่มีผลต่อ parasite ของแมลงชนิดนี้มากกว่า (24) สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในอัตรา 200 มล./น้ำ 20 ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาวได้ แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่ว (25) สารสกัดตะไคร้หอม ความเข้มข้น 100 ppm จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ (26) แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70 ชม. (27) นอกจากนี้สารสกัด10% เอทานอล (ต้นตะไคร้หอมแห้ง 200 ก./4 ลิตร) จะให้ผลดีในการลดปริมาณของหมัดกระโดดซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง (28) แชมพูที่ส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยงได้ (29)
5. การทดสอบความเป็นพิษ
สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) จากต้นทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลอง คือ 1 กรัม/กิโลกรัม (30)
1. ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ
2. ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆตัว
1. Cos ND. Flea treatment composition for animals. US Patent R 193, 986, 1980.
2. กิตติพันธ์ ตันตระรุ่งโรจน์. การพัฒนาตำรับยาทากันยุงจากสมุนไพร. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.
3. วรรณภา สุวรรณเกิด และ กิตติพันธ์ ตันตระรุ่งโรจน์. การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรในการป้องกันยุงกัด. วารสารโรคติดต่อ. 2537 ;20(1):4-11.
4. Tyagi BK, Shahi AK, Kaul BL. Evaluation of repellant activities of Cymbopogon essential oils against mosquito vectors of malaria, filariasis, and dengue fever in India. Phytomedicine 1998;5(4):324-9.
5. สมเกียรติ บุญญะบัญชา กสิน ศุภปฐม เอื้อมเดือน ศรีสุระพัตร. การทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันยุงลาย (Aedes aegypti L.) ด้วยน้ำมันหอมระเหย 6 ชนิด โดยใช้เครื่องทดสอบสารป้องกันยุงที่ประดิษฐ์ขึ้น. ว กรมวิทย พ 2540 ;39(1):61-6.
6. เนาวรัตน์ ศุขะพันธุ์ สมคิด แก้วมณี ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ สุชาติ อุปถัมภ์ ยุพา รองศรีแย้ม. ประสิทธิภาพการแสดงฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรในการขับไล่ยุง. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19, หาดใหญ่, 27-29 ตุลาคม 2536 : 480-1.
7. Thorsell W, Mikiver A, Tunon H. Repelling properties of some plant materials on the tick Ixodes ricinus L.. Phytomedicine 2006;13:132-4.
8. Paranagama P, Abeysekera T, Nugaliyadde L, Abeywickrama K. Effect of the essential oils of Cymbopogon citratus , C. nardus and Cinnamomum zealanicum on pest incidence and grain quality of rough rice (paddy) stored in an enclosed seed box. J Food Agri Environ 2003;1(2):134-6.
9. Sinchaisri N, Roongsook D, Areekul S. Botanical repellant against the diamonback moth, Plutella xylostella L.. Kasetsart J (Witthayasan Kasetsart) 1988;22(5):71-4.
10. Sugiura M, Ishizuka T, Neishi M. Flying insect repellents containing essential oils. Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 2002 173,404, 2002:7pp.
11. Masui K, Kochi H. Camphor and tricyclodecane in deodorants and insect repelling compositions. Patent: Japan Kokai-74 1974;100(239): 4.
12. Schearer WR. Components of oil of Tancy (Tanacetum vulgare) that repel colorado potato beetes ( Leptinotarsa Decemlineata). J Nat Prod 1984;476:964-969.
13. Scriven R, Meloan CE. Determining the active component in 1,3,3-trimethyl-2-oxabicyclo [2,2,2] octane (cineole) that repels the American cockroach, Periphaneta americanna. Ohio J Sci 1984;843:85-8.
14. Verma MM. The isolation and identification of a cockroach repellent in Bay leaves and a flourescence method for determination of protein in wheat. Diss Abstr Int B 1981;41:4514.
15. Hwang YS, Wu KH, Kumamoto J, Axclrod H, Mulla MS. Isolation and identification of mosquito repellents in Artemisia vulgaris. J Chem Ecol 1985;119:1297-306.
16. Chogo JB, Crank G. Chemical composition and biological activity of the Tanzanian plants, Ocimum suave . J Nat Prod 1981;433:308-11.
17. Vartak PH, Sharma RN. Vapour toxicity and repellence of some essential oils and terpenoids to adults of Ades Algypti (L) (Doptera: Culicidae). Indian J Med Res 1993;973:122-7.
18. Tunon H, Thoreell W, Bohlin L. Mosquito repelling activity of compounds occurring in Achillea Millefolium L. (Astraceae). Econ Bot 1994;482:111-20.
19. Marcus C, Lichtenstein EP. Biologically active components of anise: toxicity and interactions with insecticides in insects. J Agr Food Chem 1979;276:1217-23.
20. Bower WS, Oretego F, You XQ, Evans PH. Insect repellants from Chinese pickly ash Zanthoxylum bungenanum . J Nat Prod 1993;566: 935-8.
21. สมยศ จารุวิจิตรวัฒนา และคณะ. ผลของการใช้ครีมตะไคร้หอมในการป้องกันยุงเปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา . หนังสือรวบรวมผลงานวิจัยโครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก ( 2525-36) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536: 63-8.
22. ศศิธร วสุวัต และคณะ. ประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม วท. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2533;5(2):62-7.
23. Ketoh GK, Koumaglo HK, Glitho IA, Auger J, Huignard J. Essential oils residual effects on Callosobruchus maculatus (Coleoptera: Bruchidae) survival and female reproduction and cowpea seed germination. International J Trop Insect Sci 2005;25(2):129-33.
24. Ketoh GK, Glitho AI, Huignard J. Susceptibility of the bruchid Callosobruchus maculatus (Coleoptera: Bruchidae) and its parasitoid Dinarmus basalis (Hymenoptera: Pteromalidae) to three essential oils. J Economic Entomology 2002;95(1):174-82.
25. อรัญ งามผ่องใส สุนทร พิพิธแสงจันทร์ วิภาวดี ชำนาญ. การใช้สารฆ่าแมลงและสารสกัดจากพืชบางชนิดควบคุมแมลงศัตรูถั่วฝักยาว. ว สงขลานครินทร์ วทท 2546 ;25(3):307-16.
26. ชาญณรงค์ ศรีทรงเมือง. การจัดการแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำภายในสภาพโรงเรือนมุ้งตาข่าย. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2002.
27. กนก อุไรสกุล. การใช้สมุนไพรบางชนิดยับยั้งการเจริญเติบโตของไรแดงกุหลาบ. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ , 2002.
28. สุรัตน์วดี จิวะจินดา ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล อุดม แก้วสุวรรณ์. การควบคุมแมลงศัตรูผักโดยสารสกัดจากพืช. สรุปผลการดำเนินงานวิจัย ทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการวิจัย KIP (KURDI INITIATED PROJECT) ประจำปี 2536, ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์, วันที่ 16-19 พฤษภาคม 2537 1993:101-3.
29. วสุ วิฑูรย์สฤษฎ์ศิลป์ ศุทธิชัย พจนานุภาพ. แชมพูสมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง . โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล, 2545.
30. Dhar MLOS, Dhar MN, Dhawan BN, Mehrotra BN, Srimal RC, Tandon JS. Screening of Indian plants for biological activity. Part IV. Indian J Exp Biol 1973;11:43.
--
คิดถึงก็ตอบไม่ชอบก็delete ยังมีอีกเดี๋ยวส่งใหม่ จนกว่าจะคิดถึง...
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
You received this message because you are subscribed to the Google Groups "freekick2002" group.
To post to this group, send email to freekick2002@googlegroups.com
To unsubscribe from this group, send email to freekick2002-unsubscribe@googlegroups.com
For more options, visit this group at http://groups.google.com/group/freekick2002?hl=en
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---
No comments:
Post a Comment