[J][A][A]
~ กลุ่มเมล์อันซีน ~
สาระน่ารู้ รื่นเริง บันเทิงใจ
สมัครรับเมลล์ ไปที่เว็บไซท์ ' http://groups.google.com/group/unzeen '
หรือส่งเมลล์เปล่าไปที่ ' unzeen-subscribe@googlegroups.com '
ภัยเงียบจากการไม่กิน "ผัก"
ภัยเงียบคุกคามเด็กไทย อัตราการบริโภคผัก-ผลไม้ดิ่งเหวติดต่อกันตั้งแต่ปี 2544 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายหลายชนิด ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขยืนยันมะเร็งคร่าชีวิตคนไทยเป ็นอันดับหนึ่งมาตั้งแต่ปี 2545 แนะควรสร้างนิสัยการกินผักผลไม้เริ่มตั้งแต่วันนี้เพ ื่อสุขภาพที่ดี
ข้อมูลล่าสุดจากการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพแห่งช าติครั้งที่ 2 ประจำปี 2550 ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยใน ปัจจุบัน เอาชนะอุบัติเหตุและโรคหัวใจที่เคยครองอันดับหนึ่งสา เหตุการตายมาหลายสิบปีแล้ว โดยมะเร็งลำไส้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นสาเหตุการตายอันดั บต้นๆ โดยที่คนไทยเราไม่ค่อยตระหนักถึงภัยของโรคนี้กันเท่า ไรนัก
นางอลิสรา วิจารณกรณ์ ผู้จัดการด้านโภชนาการและสุขภาพ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า สถิติล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขระบุชัดว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งถึงปีละกว่า 50,000 ราย โดยที่มะเร็งลำไส้ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปอดและเต้านม นอกจากนี้คนไทยยังเป็นโรคเบาหวานที่รู้ตัวแล้วถึงกว่ า 3 ล้านราย และกว่า 10 ล้านรายมีอัตราความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีปริมาณน้ำตาล ในเลือดสูงเกินกำหนด ภาวะเสี่ยงที่กำลังคุกคามชีวิตของคนไทยในขณะนี้ 85% เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ การรับประทานอาหารไม่สมดุล รับประทานอาหารที่มีแป้ง ไขมัน น้ำตาล และเนื้อสัตว์มากเกินไป และบริโภคผักผลไม้น้อยลง ทำให้เกิดอาการท้องผูก มีการคั่งค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่ เยื่อบุลำไส้จึงสัมผัสกับสารก่อมะเร็งที่มักพบมากในก ากอาหารจำพวกไขมันได้นานขึ้น
ที่สำคัญคือ สถานการณ์การบริโภคผักผลไม้ของคนไทยอยู่ในขั้นน่าเป็ นห่วงมาก ปัจจุบันคนไทยรับประทานผักผลไม้เฉลี่ยวันละประมาณ 186 กรัมต่อวันเท่านั้น ขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานผั กผลไม้วันละประมาณ 400 กรัม ซึ่งเท่ากับว่าคนไทยบริโภคผักผลไม้เพียงประมาณหนึ่งใ นสามของที่ควรจะได้รับเท่านั้น และจากสถิติที่ยูนิลีเวอร์เก็บย้อนหลังไปประมาณ 10 ปี พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยลดต่ำลงอย่างมาก
นอกจากนี้ยูนิลีเวอร์ยังได้ศึกษาแนวโน้มการบริโภคอาห ารใน 4 ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเก็บสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่าแนวโน้มการบริโภคอาหารในทั้ง 4 ประเทศมีความคล้ายคลึงกัน คือ รับประทานผักผลไม้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา แต่รับประทานแป้ง น้ำตาล ไขมันและเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ คนไทยยังหันไปรับประทานพืชมีหัวที่เป็นแป้งมากขึ้น เช่น มันฝรั่ง จึงทำให้ปริมาณผักใบเขียว, ผลไม้ที่รับประทานในแต่ละวันลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ด้านนางกฤษฎี โพธิทัต นักกำหนดอาหารชั้นนำของประเทศไทยเปิดเผยว่า ในส่วนของเยาวชนไทยนั้น การรับประทานผักผลไม้น้อยทำให้สุขภาพของเด็กแย่ลง ที่เห็นชัดเจนคือเป็นหวัดบ่อย ติดเชื้อง่าย เจ็บคอ ทำให้ต้องกินยา เสียเงินค่ารักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็น บางครอบครัวต้องพาลูกเข้าๆ ออกๆ ในโรงพยาบาลปีละหลายครั้ง เสียค่าหมอเป็นเรือนพันเรือนหมื่นต่อปี อาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับเด็กๆ ได้ทุกวันโดยการกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับวิตามิน เกลือแร่จากผักผลไม้แล้ว เขายังจะได้รับเส้นใยอาหารที่ช่วยจับไขมันและสารพิษต ่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงเช่น มะเร็ง ออกไปจากร่างกาย และช่วยให้การขับถ่ายดี ไม่เป็นโรคท้องผูก
"สาเหตุเล็กๆ จากการรับประทานอาหารไม่สมดุลเพียงแค่นี้อาจนำไปสู่ภ ัยอันใหญ่หลวง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ ที่ทำลายชีวิตคนไทยเพิ่มขึ้นทุกขณะ, โรคอ้วนซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งในอดีตมักพบในผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันเด็กอายุ 3 ขวบ ก็เป็นโรคร้ายแรงเหล่านี้ได้เช่นกัน"
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การแก้ไขหรือป้องกันปัญหานี้สามารถทำได้ โดยเริ่มจากการปลูกฝังนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต ้องตั้งแต่ยังเด็ก
"พ่อแม่ควรชักชวนให้ลูกกินผัก อย่าปล่อยให้พี่เลี้ยงทำอาหารง่ายๆ แต่ไม่ถูกหลักโภชนาการให้ลูกกิน พ่อแม่ควรใส่ใจ พิถีพิถันในการเลือกปรุงแต่งเมนูผักให้หลากหลาย และถูกใจเด็ก ๆ มากขึ้น เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมตั้งแต่การเลือกซื้อ การปรุง และมีเทคนิคที่ทำให้เด็กสนุกกับการรับประทานผัก รู้สึกว่าผักอร่อย ไม่ได้เหม็นหรือกินยากอย่างที่คิด และควรรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวอย่างน้อยวันล ะ 1 มื้อ จะช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีและรับประทานผักได้ง่ายข ึ้น เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ"
ข้อมูลล่าสุดจากการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพแห่งช าติครั้งที่ 2 ประจำปี 2550 ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยใน ปัจจุบัน เอาชนะอุบัติเหตุและโรคหัวใจที่เคยครองอันดับหนึ่งสา เหตุการตายมาหลายสิบปีแล้ว โดยมะเร็งลำไส้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นสาเหตุการตายอันดั บต้นๆ โดยที่คนไทยเราไม่ค่อยตระหนักถึงภัยของโรคนี้กันเท่า ไรนัก
นางอลิสรา วิจารณกรณ์ ผู้จัดการด้านโภชนาการและสุขภาพ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า สถิติล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขระบุชัดว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งถึงปีละกว่า 50,000 ราย โดยที่มะเร็งลำไส้ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปอดและเต้านม นอกจากนี้คนไทยยังเป็นโรคเบาหวานที่รู้ตัวแล้วถึงกว่ า 3 ล้านราย และกว่า 10 ล้านรายมีอัตราความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีปริมาณน้ำตาล ในเลือดสูงเกินกำหนด ภาวะเสี่ยงที่กำลังคุกคามชีวิตของคนไทยในขณะนี้ 85% เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ การรับประทานอาหารไม่สมดุล รับประทานอาหารที่มีแป้ง ไขมัน น้ำตาล และเนื้อสัตว์มากเกินไป และบริโภคผักผลไม้น้อยลง ทำให้เกิดอาการท้องผูก มีการคั่งค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่ เยื่อบุลำไส้จึงสัมผัสกับสารก่อมะเร็งที่มักพบมากในก ากอาหารจำพวกไขมันได้นานขึ้น
ที่สำคัญคือ สถานการณ์การบริโภคผักผลไม้ของคนไทยอยู่ในขั้นน่าเป็ นห่วงมาก ปัจจุบันคนไทยรับประทานผักผลไม้เฉลี่ยวันละประมาณ 186 กรัมต่อวันเท่านั้น ขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานผั กผลไม้วันละประมาณ 400 กรัม ซึ่งเท่ากับว่าคนไทยบริโภคผักผลไม้เพียงประมาณหนึ่งใ นสามของที่ควรจะได้รับเท่านั้น และจากสถิติที่ยูนิลีเวอร์เก็บย้อนหลังไปประมาณ 10 ปี พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยลดต่ำลงอย่างมาก
นอกจากนี้ยูนิลีเวอร์ยังได้ศึกษาแนวโน้มการบริโภคอาห ารใน 4 ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเก็บสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่าแนวโน้มการบริโภคอาหารในทั้ง 4 ประเทศมีความคล้ายคลึงกัน คือ รับประทานผักผลไม้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา แต่รับประทานแป้ง น้ำตาล ไขมันและเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ คนไทยยังหันไปรับประทานพืชมีหัวที่เป็นแป้งมากขึ้น เช่น มันฝรั่ง จึงทำให้ปริมาณผักใบเขียว, ผลไม้ที่รับประทานในแต่ละวันลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ด้านนางกฤษฎี โพธิทัต นักกำหนดอาหารชั้นนำของประเทศไทยเปิดเผยว่า ในส่วนของเยาวชนไทยนั้น การรับประทานผักผลไม้น้อยทำให้สุขภาพของเด็กแย่ลง ที่เห็นชัดเจนคือเป็นหวัดบ่อย ติดเชื้อง่าย เจ็บคอ ทำให้ต้องกินยา เสียเงินค่ารักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็น บางครอบครัวต้องพาลูกเข้าๆ ออกๆ ในโรงพยาบาลปีละหลายครั้ง เสียค่าหมอเป็นเรือนพันเรือนหมื่นต่อปี อาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับเด็กๆ ได้ทุกวันโดยการกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับวิตามิน เกลือแร่จากผักผลไม้แล้ว เขายังจะได้รับเส้นใยอาหารที่ช่วยจับไขมันและสารพิษต ่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงเช่น มะเร็ง ออกไปจากร่างกาย และช่วยให้การขับถ่ายดี ไม่เป็นโรคท้องผูก
"สาเหตุเล็กๆ จากการรับประทานอาหารไม่สมดุลเพียงแค่นี้อาจนำไปสู่ภ ัยอันใหญ่หลวง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ ที่ทำลายชีวิตคนไทยเพิ่มขึ้นทุกขณะ, โรคอ้วนซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งในอดีตมักพบในผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันเด็กอายุ 3 ขวบ ก็เป็นโรคร้ายแรงเหล่านี้ได้เช่นกัน"
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การแก้ไขหรือป้องกันปัญหานี้สามารถทำได้ โดยเริ่มจากการปลูกฝังนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต ้องตั้งแต่ยังเด็ก
"พ่อแม่ควรชักชวนให้ลูกกินผัก อย่าปล่อยให้พี่เลี้ยงทำอาหารง่ายๆ แต่ไม่ถูกหลักโภชนาการให้ลูกกิน พ่อแม่ควรใส่ใจ พิถีพิถันในการเลือกปรุงแต่งเมนูผักให้หลากหลาย และถูกใจเด็ก ๆ มากขึ้น เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมตั้งแต่การเลือกซื้อ การปรุง และมีเทคนิคที่ทำให้เด็กสนุกกับการรับประทานผัก รู้สึกว่าผักอร่อย ไม่ได้เหม็นหรือกินยากอย่างที่คิด และควรรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวอย่างน้อยวันล ะ 1 มื้อ จะช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีและรับประทานผักได้ง่ายข ึ้น เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ"
' เคลียร์เมลล์บ๊อกซ์ให้ว่าง เพื่อรับเมลล์ดีๆ แบบนี้ทุกวัน '
No comments:
Post a Comment