ข้อมูลกรมทางหลวงอธิบายเริ่มจากหลักกิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทย ว่า หลักกิโลเมตรที่ 0 มีอยู่แห่งเดียวเท่านั้น คือจุดที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา ดังนั้น จึงไม่มีหลักกิโลเมตรที่ 0 ในแต่ละจังหวัด และการวัดระยะทางไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย ก็เริ่มวัดจากหลักกิโลเมตรที่ 0 ณ กรุงเทพฯ เป็นจุดเริ่มต้น
หลักกิโลเมตร หรือหลักไมล์ คือเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่กำกับด้วยตัวอักษรและตัว เลข ส่วนมากจะเป็นเสาหินหรือเสาปูนเตี้ยๆ แล้วจารึกหรือเขียนตัวอักษรด้วยสี ติดตั้งไว้เป็นระยะๆ เท่ากัน (ทุก 1 กิโลเมตร หรือ 1 ไมล์) ตลอดเส้นทางที่ริมถนนหรือระยะโดยเฉลี่ยตรงกลางถนน จุดประสงค์ของการสร้างหลักกิโลเมตรเพื่อเป็นการบอกผู ้เดินทางว่าได้เดินทางมาเป็นระยะทางเท่าใดแล้ว หรืออีกไกลเท่าไรกว่าจะถึงจุดหมาย ส่วนจะเลือกใช้หลักกิโลเมตรหรือหลักไมล์ ขึ้นอยู่กับว่าในประเทศนั้นวัดความยาวในระบบอังกฤษหร ือระบบเมตริก
เกี่ยวกับหลักกิโลเมตรในประเทศไทย มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างทางห ลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) เมื่อ พ.ศ.2481 ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อให้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ยวดยานพาหนะบนท้องถน นดังกล่าว คาดว่ามีการสร้างหลักกิโลเมตรไปพร้อมๆ กับการสร้างถนนพหลโยธิน จากที่เมื่อเริ่มแรกนั้นใช้ในจุดประสงค์เพื่อกำหนดค่ าบำรุงรักษาเส้นทางของกรมทางหลวง โดยใช้รหัสแขวงที่ปรากฏบนหลักเป็นส่วนแบ่งความรับผิด ชอบ
นอกจากนั้น ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการออกโฉนดที่ดินหรือ การเวนคืนที่ดิน แต่ในปัจจุบันเมื่อมีการปรับปรุงถนนหรือการสร้างทางใ หม่ หลักกิโลเมตรที่แท้จริงอาจคลาดเคลื่อนไปจากที่ตั้งเด ิมจนต้องมีการวัดระยะเพื่อวางหลักใหม่ ทำให้ใช้อ้างอิงตำแหน่งเกี่ยวกับที่ดินไม่ได้ จุดประสงค์สุดท้ายจึงตกไป
หลักกิโลเมตรในประเทศไทยเป็นเสาปูนสี่เหลี่ยม มียอดเป็นสามเหลี่ยมหรือพีระมิด ทาสีขาว หลักกิโลเมตรหนึ่งหลักมีตัวเลขบอกระยะทาง 3 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านขวา และด้านซ้าย โดยด้านหน้าจะเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ กล่าวคือ ถ้าเป็นความรับผิดชอบของกรมทางหลวงจะใช้สัญลักษณ์เป็ นตราครุฑ พบได้ตามเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค จังหวัด และอำเภอสำคัญๆ ของประเทศ ในตัวครุฑจะมีหมายเลขทางหลวงปรากฏอยู่ ใต้ตัวครุฑเป็นเลขที่บอกว่าหลักกิโลเมตรนั้นเป็นหลัก ที่เท่าไหร่
แต่ถ้าเป็นเส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการจะใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเทวดาสามองค์ พบได้ตามเส้นทางที่แยกจากทางหลวงแผ่นดินไปตามหมู่บ้านต่างๆ โดยมีระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร
ส่วนด้านขวาและด้านซ้าย มีชื่อสถานที่ เช่น จังหวัด หรืออำเภอ และตัวเลขบอกระยะทางที่เหลือของสถานที่ที่เรากำลังจะผ่านไปบนเส้นทางหลวงนั้นๆ คือบอกระยะทางจากสถานที่ดังกล่าวที่ต้องเดินทางบนถนน
บริเวณถนนบางแห่งที่ไม่สามารถติดตั้งหลักกิโลเมตรได้ เช่น บนสะพาน หรือด้วยเหตุผลอื่นใด จะใช้ป้ายกิโลเมตรติดตั้งไว้แทน มีลักษณะเป็นห้า เหลี่ยมคล้ายหลักกิโลเมตรเมื่อมองจากด้านหน้า แต่มีรายละเอียดคือสัญลักษณ์ของหน่วยงานกับเลขกิโลเมตรเท่านั้น ขณะที่บนถนนบางสายติดตั้งหลักร้อยเมตร หรือป้ายร้อยเมตร เป็นระยะ เพื่อการวัดระยะทางที่แม่นยำมากขึ้น
No comments:
Post a Comment