Thursday, September 27, 2007

:: u n z e e n :: “กล้วยไม้ไร้ใบ” สิ่งมีชีวิตใหม่ใน 11 สายพันธุ์ที่ป่าเวียดนาม

[]

[J][A][A]

~ กลุ่มเมล์อันซีน ~
สาระน่ารู้ รื่นเริง บันเทิงใจ
สมัครรับเมลล์ ไปที่เว็บไซท์ ' http://groups.google.com/group/unzeen '
หรือส่งเมลล์เปล่าไปที่ ' unzeen-subscribe@googlegroups.com '

"กล้วยไม้ไร้ใบ" สิ่งมีชีวิตใหม่ใน 11 สายพันธุ์ที่ป่าเวียดนาม
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 กันยายน 2550 11:42 น.
กล้วยไม้ไร้ใบ "เลคานอร์คิส เวียดนามิกา" (Lecanorchis Vietnamica) อยู่ในสกุลกล้วยไม้กินซาก (Lecanorchis) ในประเทศไทยก็พบกล้วยไม้ไร้ใบในตระกูลนี้เช่นกัน (ภาพ Reuters/WWF)
เอพี / เอเอฟพี – พบสิ่งมีชีวิตนับ 11 สายพันธุ์ที่ยังไม่เคยมีการบันทึกลงในอนุกรมวิธาน ในป่าแถบเทือกเขาอันนัม ใจกลางเวียดนาม ทั้งงู ผีเสื้อ และพรรณไม้หายาก อย่างกล้วยไม้ไร้ใบ ตอกย้ำพื้นที่สีเขียวมีค่าควรอนุรักษ์ เชื่อยังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายในป่าแห่งนี้ที่มนุษย ์ยังไม่รู้จัก

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (Worldwide Fund for Nature : WWF) ออกสำรวจพื้นที่ป่าเขตร้อน ในเทือกเขาอันนัม บริเวณจังหวัดเถือะเทียนเหว (Thua Thien Hue) ใจกลางประเทศเวียดนาม หรือที่รู้จักกันดีว่า "เส้นทางสีเขียว" (Green Corridor) โดยเริ่มสำรวจตั้งแต่ปี 2539 และค้นพบสิ่งมีชีวิตหน้าใหม่หลากหลายถึง 11 ชนิด เป็นงู 1 สายพันธุ์ ผีเสื้อ 2 สายพันธุ์ กล้วยไม้ 5 สายพันธุ์ และต้นไม้ชนิดอื่นๆ อีก 3 สายพันธุ์

งูลายสาบปากขาว (ภาพ AFP/WWF)
"งู" หน้าตาประหลาด อยู่ในสกุลลายสาบ (keelback) นักชีววิทยาระบุชนิดให้เป็น "งูลายสาบปากขาว" (white-lipped keelback) ซึ่งสัตว์เลี้อยคลานชนิดนี้อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ กินกบหรือสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร ทางทีมผู้ค้นพบ อธิบายถึงลักษณะของงูชนิดนี้ว่า ที่ลำตัวมีลายสีเหลืองขาวเป็นทางพาดบริเวณหัว มีจุดแดงๆ อยู่ตามลำตัวที่มีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร

ผีเสื้อบินเร็วในสกุลผีเสื้อคลิบแสด (ภาพ National Geographic / WWF)
"ผีเสื้อ" ก็เป็นอีกชนิดที่ค้นพบใหม่ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของพวก "ผีเสื้อบินเร็ว" (skipper) ซึ่งพวกนี้จะบินและขยับตัวอย่างรวดเร็ว โดยชนิดหนึ่งมาจากสกุล ผีเสื้อคลิบแสด (Zela) และอีกชนิดที่พบเป็นสกุลใหม่อยู่ในวงศ์ย่อย (subfamily) ของซาทิรินี (Satyrinae) หรือผีเสื้อสีตาล

ดอกไม้ในสกุล "เอสพิดิสตรา" (aspidistra) หรือพวกบัวดอย/ผู้เฒ่าลืมไม้เท้า ต้องการแสงสว่างเพียงเล้กน้อย (ภาพ Reuters/WWF)
ส่วนกล้วยไม้ที่ค้นพบ 3 ใน 5 สายพันธุ์นั้น เป็นกล้วยไม้ไร้ใบ นับว่าไม่ธรรมดาทีเดียว เพราะกล้วยไม้ไม่มีใบยากนักที่จะได้เจอ เพราะกล้วยไม้ไร้ใบเหล่านี้จะใช้ชีวิตเหมือนเชื้อรา ไม่มีคลอโรฟิลล์ ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้ ทำให้มีชีวิตอยู่ด้วยการอาศัยอินทรียสารจากซากสิ่งมี ชีวิตอื่นๆ

อย่างสายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในวงศ์แอสพิดิสตรา (aspidistra) หรือพวกบัวดอย ให้ดอกไม้สีดำ และยังสามารถอยู่ได้แม้ได้รับแสงเพียงน้อยนิด โดยใบของดอกไม้ดำที่มีลักษณะเหมือนท่อ ยังเป็นที่ก่อกำเนิดกนกนารีดอกสีเหลืองรายรอบ

แกสโทรเดีย เทียอานา (Gastrodia Theana) อยู่ในสกุลเอื้องกลีบติด เป็นแบบไร้ใบเช่นกัน (ภาพ Reuters/WWF)


เอื้องสีสายพันธุ์ใหม่ (ภาพ Reuters/WWF)


Saccolabiopsis Viridiflora อยู่ในตระกูลเอื้อง (ภาพ Reuters/WWF)


กล้วยไม้ในสกุลนกคุ้มไฟ (Anoectochilus) ได้ชื่อตามการค้นพบว่า Anoectochilus annamenis (นกคุ้มไฟแห่งเทือกเขาอันนัม) (ภาพ AFP/WWF)


ลักษณะกลีบของ Anoectochilus annamenis (ภาพ AFP/WWF)


สกุลก้ามกุ้งขน (Phyllagathis) สายพันธุ์ใหม่ตามภาพที่ตั้งให้คือ Phyllagathis Melastomataceae (ภาพ Reuters/WWF)


อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตที่ค้นพบใหม่ทั้งหมดสร้างความประหลาดใจให ้แก่นักวิทยาศาสตร์ เพราะจะพบได้เฉพาะป่าเขตร้อนบริเวณเส้นทางสีเขียวแห่ งนี้เท่านั้น ที่สำคัญในแถบนี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของ ชะนีแก้มขาว (white-cheeked crested gibbon) ที่กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ และยังมีวัวป่าลักษณะเฉพาะถิ่น ที่นักสำรวจเพิ่งค้นพบเมื่อปี 2535

ด้วยความเป็นถิ่นที่อยู่ที่มีลักษณะเฉพาะ ทำให้นักสำรวจเชื่อว่าการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ 11 สายพันธุ์นี้ คงเป็นแค่เสี้ยวส่วนของสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่มนุษย ์ยังค้นหาไม่พบในแถบเวียดนาม

ทว่า สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนเส้นทางสีเขียวกำลังถูกคุกคามอย ่างหนัก ทั้งลักลอบตัดไม้ ล่าสัตว์ การหยิบฉวยทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างไม่บันยะบันยัง แม้จะมีแผนอนุรักษ์จากทางการเพื่อปกป้องผืนป่าบริเวณ นี้แล้วก็ตาม
 
 
' เคลียร์เมลล์บ๊อกซ์ให้ว่าง เพื่อรับเมลล์ดีๆ แบบนี้ทุกวัน '

No comments: