Monday, August 4, 2008

:: u n z e e n :: อย่าเก็บข้อมูลใน CDR นานเกินไป

[]

อย่าเก็บข้อมูลใน CD-R นานเกินไป

ถ้างั้นจะเก็บในฮาร์ดดิสก์ หรือเทปดี ?

      ข่าวนี้มาจากนิตยสาร PC World, เขารายงานผลวิจัยพบว่า ผู้คนจำนวนมาก เลือกเก็บข้อมูลภาพ เพลงประทับใจ และข้อมูลสำคัญๆ ไว้ในแผ่นซีดีอาร์ โดยหวังว่าจะเก็บไว้เป็นสิบๆ ปี คำตอบก็คือ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เมื่อแผ่นซีดีอาร์ส่วนใหญ่ มีอายุการใช้งานได้แค่ 2-5 ปี ตามแต่คุณภาพของแผ่น เพราะแผ่นซีดีอาร์ เก็บข้อมูลได้โดยระบบความร้อนของหัวเลเซอร์เครื่องเขียนแผ่น ซึ่งเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง วัสดุและสารเคมี ณ จุดที่มีการเขียนอ่านข้อมูลนั้น ก็อาจจะมีการเปลี่ยนสภาพไป

     กรณีที่เขียนข้อมูลแล้วเก็บแผ่นซีดีอาร์ไว้เฉยๆ ณ ห้องติดแอร์ ไม่ร้อน ไม่ชื้นจัด แผ่นเหล่านี้อาจจะเก็บได้นานถึง 10 ปี แต่ถ้าเก็บไว้ที่ห้องที่ร้อนอบอ้าว หรือไว้ในรถที่ตากกลางแดด นอกจากแผ่นจะเสียรูปร่างแล้ว ข้อมูลก็จะหายไปด้วยเช่นกัน

 

ถ้างั้น..หันไปใช้เทปเก็บข้อมูล หรือฮาร์ดดิสก์ดีไหม ? คำตอบก็คือ เทปเป็นตัวเก็บข้อมูลที่ให้อายุการใช้งานสูงสุด คือประมาณ 30 ปีขึ้นไป แต่..เทป ไวต่อความร้อน สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากๆ ที่สำคัญ เวลาเก็บไว้นานๆ ต้องมีการ retension หรือมีการวิ่งเทปให้ยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อปรับความตึงของเส้นเทปให้เหมาะสม ดังนั้น เทปที่เก็บไว้ที่ห้องธรรมดา ไม่ใช่ห้องแอร์ ก็อาจจะเก็บข้อมูลได้เพียง 5-10 ปีเช่นกัน และยิ่งเก็บไว้ที่ร้อนจัด หรือบริเวณที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตลอดเวลา เช่น ข้างเครื่องทีวี ปั๊มน้ำ มอเตอร์ ฯลฯ ข้อมูลที่หวงแหนไว้ ก็อาจจะมลายหายไปง่ายๆ เหมือนกัน ดังนั้น บรรดาเทป mini DV ที่ถ่ายรูปแต่งงานหรืองานบวช ก็ต้องเก็บไว้ในที่เย็น ไม่ชื้น และไม่มีสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน มิฉะนั้น..ก็หาย

 

เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ โดยเฉพาะ external harddisk ดีไหม คำตอบก็คือ ก็ไม่ดีเหมือนกัน เพราะวิธีการเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ ก็ใช้การเหนี่ยวนำไฟฟ้าบนจานฮาร์ดดิสก์ พอนานไป ความเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะเสื่อมหายได้เหมือนกัน ดังนั้น เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ อาจจะเก็บได้นาน 8-10 น้อยกว่าเทปเสียอีก และที่สำคัญ อาจจะพลัดตก แล้วหัวอ่านเสียอีกก็ได้

ดังนั้น เก็บข้อมูลไว้ที่ไหนดี ? คำตอบที่ดีที่สุดในตอนนี้ก็คือ Flash Memory ครับ*** ด้วยความสามารถในการอ่านเขียนที่ได้มากถึง 100 ล้านครั้ง ถ้ามีการอ่านเขียนวันละ 100 ครั้ง ก็จะมีอายุการใช้งานมากถึง "หลายพันปี" และถ้าชั่วโมงๆ หนึ่งมีการอ่านเขียนมากถึง 1,000 ครั้ง ก็จะมีอายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี

และด้วยคุณสมบัติที่หน่วยความจำแบบนี้ ไม่มีชิ้นส่วนเครื่องกลเหมือนฮาร์ดดิสก์และเทป ทำให้โอกาสที่จะผิดพลาดเนื่องจากกลไกต่างๆ น้อยลงไปอีก ยิ่งไปกว่านั้น ความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าไว้กับตัวของมัน ก็ดีกว่าเทป ฮาร์ดดิสก์ และซีดีอาร์

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคุณจะใช้หน่วยความจำแบบไหนเก็บข้อมูล ก็ขอให้เก็บรักษาไว้ในที่ๆ อุณหภูมิไม่สูง ไม่มีคลื่นไฟฟ้ารบกวน และที่สำคัญ ต้องหมั่นนำกลับมาใช้ ปีละครั้งก็ยังดี เพื่อชาร์จประจุ ขยับหัวอ่านและกลไกต่างๆ รวมทั้ง เพื่อสำรวจว่า หน่วยความจำของคุณ "ยังจำ" ข้อมูลของคุณอยู่หรือเปล่า

 

ที่มา : mcot variety

No comments: