กำเนิดบัตรประชาชน
บัตรประชาชนเป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคล มีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื่องจากยุคนั้นประชาชนซึ่งมีฐานะไพร่ประมาณ 80-90% เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นกำลังหลักในด้านเศรษฐกิจ การศึกสงคราม เป็นแรงงานในการก่อสร้าง ฯลฯ ทางราชการจึงต้องมีการสักบอกสังกัดมูลนายไว้ที่ข้อมือ เมื่อจะเดินทางไปท้องที่อื่นจะต้องขออนุญาตจากเจ้านาย การสักข้อมือจึงเป็นวิธีการที่ใช้ในการยืนยันตัวบุคคลของคนไทยมาตั้งแต่อดีต
กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ยกเลิกไป ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการยกเลิกระบบทาสและไพร่ ราษฎรที่ต้องการเดินทางไปท้องที่อื่นที่ไม่ใช่ท้องถิ่นที่อยู่ของตนเองจะต้องไปขอหนังสือเดินทางจากอำเภอ เพื่อใช้เป็นเอกสารรับรองผู้ถือว่าเป็นใคร มาจากแห่งหนตำบลใด โดยหลักฐานอยู่ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 90 บัญญัติว่า "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปทำมาค้าขายในท้องที่อื่น"
ในปีพ.ศ.2486 รัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486" บังคับให้ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี จัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับ 4 ตอน สีพื้นตัวบัตรเป็นสีฟ้าอมเขียว และมีลายเทพพนมตลอดเล่ม ภายในเล่มมีข้อมูลของผู้ถือบัตร
ปี 2505 มีการออกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน โดยปรับปรุงบัตรให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แผ่นเดียวขนาดกว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 9 เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปครุฑอยู่ตรงกลางพร้อมข้อความ "สำนักบริหารการทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย" วันที่ออกบัตรและวันที่บัตรหมดอายุ ด้านหลังจะเป็นรายการข้อมูลของผู้ถือบัตร มีภาพถ่ายขาว-ดำที่มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุตเลขและตัวอักษรแสดงอำเภอที่ออกบัตร และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร เป็นต้น ปี 2531 จึงเปลี่ยนเป็นรูปสีธรรมชาติ
กระบวนการจัดทำบัตรที่ผ่านมาใช้มือเป็นหลัก บัตรรุ่นแรกทำที่สำนักทะเบียนอำเภอ และนับแต่ปี 2505 จัดทำที่ส่วนกลาง คือสำนักทะเบียนบัตรรวบรวมข้อมูลและรูปถ่ายผู้ถือบัตรส่งให้ส่วนกลางผลิต เมื่อผลิตเสร็จจึงส่งกลับไปให้สำนักทะเบียนแจกจ่ายให้ประชาชน ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน
ปี 2539 มีการทำบัตรแถบแม่เหล็ก ซึ่งทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผลิตเองที่สำนักทะเบียน ประชาชนรอรับบัตรได้เลยใช้เวลาประมาณ 15 นาที กระทั่งปี 2547 จึงหันมาใช้บัตรอเนกประสงค์ หรือสมาร์ท การ์ดแทน เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและป้องกันการปลอมแปลงได้ 100% แต่ตอนนี้ระงับชั่วคราวกลับมาใช้บัตรแถบแม่เหล็กก่อน เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำสมาร์ทการ์ดหมดต้องรอการประมูลและจัดซื้อใหม่
บัตรประชาชนเป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคล มีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื่องจากยุคนั้นประชาชนซึ่งมีฐานะไพร่ประมาณ 80-90% เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นกำลังหลักในด้านเศรษฐกิจ การศึกสงคราม เป็นแรงงานในการก่อสร้าง ฯลฯ ทางราชการจึงต้องมีการสักบอกสังกัดมูลนายไว้ที่ข้อมือ เมื่อจะเดินทางไปท้องที่อื่นจะต้องขออนุญาตจากเจ้านาย การสักข้อมือจึงเป็นวิธีการที่ใช้ในการยืนยันตัวบุคคลของคนไทยมาตั้งแต่อดีต
กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ยกเลิกไป ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการยกเลิกระบบทาสและไพร่ ราษฎรที่ต้องการเดินทางไปท้องที่อื่นที่ไม่ใช่ท้องถิ่นที่อยู่ของตนเองจะต้องไปขอหนังสือเดินทางจากอำเภอ เพื่อใช้เป็นเอกสารรับรองผู้ถือว่าเป็นใคร มาจากแห่งหนตำบลใด โดยหลักฐานอยู่ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 90 บัญญัติว่า "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปทำมาค้าขายในท้องที่อื่น"
ในปีพ.ศ.2486 รัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486" บังคับให้ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี จัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับ 4 ตอน สีพื้นตัวบัตรเป็นสีฟ้าอมเขียว และมีลายเทพพนมตลอดเล่ม ภายในเล่มมีข้อมูลของผู้ถือบัตร
ปี 2505 มีการออกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน โดยปรับปรุงบัตรให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แผ่นเดียวขนาดกว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 9 เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปครุฑอยู่ตรงกลางพร้อมข้อความ "สำนักบริหารการทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย" วันที่ออกบัตรและวันที่บัตรหมดอายุ ด้านหลังจะเป็นรายการข้อมูลของผู้ถือบัตร มีภาพถ่ายขาว-ดำที่มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุตเลขและตัวอักษรแสดงอำเภอที่ออกบัตร และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร เป็นต้น ปี 2531 จึงเปลี่ยนเป็นรูปสีธรรมชาติ
กระบวนการจัดทำบัตรที่ผ่านมาใช้มือเป็นหลัก บัตรรุ่นแรกทำที่สำนักทะเบียนอำเภอ และนับแต่ปี 2505 จัดทำที่ส่วนกลาง คือสำนักทะเบียนบัตรรวบรวมข้อมูลและรูปถ่ายผู้ถือบัตรส่งให้ส่วนกลางผลิต เมื่อผลิตเสร็จจึงส่งกลับไปให้สำนักทะเบียนแจกจ่ายให้ประชาชน ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน
ปี 2539 มีการทำบัตรแถบแม่เหล็ก ซึ่งทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผลิตเองที่สำนักทะเบียน ประชาชนรอรับบัตรได้เลยใช้เวลาประมาณ 15 นาที กระทั่งปี 2547 จึงหันมาใช้บัตรอเนกประสงค์ หรือสมาร์ท การ์ดแทน เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและป้องกันการปลอมแปลงได้ 100% แต่ตอนนี้ระงับชั่วคราวกลับมาใช้บัตรแถบแม่เหล็กก่อน เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำสมาร์ทการ์ดหมดต้องรอการประมูลและจัดซื้อใหม่
บัตรรุ่นแรก มีลักษณะคล้ายแผ่นพับขนาดเล็ก 4 ตอน มีทั้งหมด 8 หน้า
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2505
ออกให้เฉพาะประชาชนในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพและธนบุรี (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)
บัตรรุ่นที่ 2 มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพกพาติดตัวได้สะดวก มี 2 ด้าน
รูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปขาว-ดำ พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา
และเคลือบด้วยพลาสติกใส
บัตรรุ่นที่ 3 มีลักษณะคล้ายกับบัตรรุ่นที่ 2
จุดแตกต่างคือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ
พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
และเคลือบด้วยวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ
บัตรรุ่นที่ 4 มีลักษณะคล้ายบัตรเครดิตมีแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลเจ้าของบัตร
และผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ
รายการใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาในบัตรรุ่นนี้คือ การระบุหมู่โลหิต
บัตรรุ่นที่ 5 ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน
เป็นบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card)
No comments:
Post a Comment