โครงการดีๆ " กล่องของพี่ เพื่อสมุดของน้อง "
วันนี้มีโครงการดี ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมาขอให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์หน่อยค่ะ
ชื่อโครงการ : " กล่องของพี่ เพื่อสมุดของน้อง "
วันนี้ได้เข้าร่วมอบรมโครงการนี้ ก็เลยได้รู้ประโยชน์ของกล่องเพิ่มขึ้นอีก
กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ หรือกล่องชาเขียวต่าง ๆ ที่พวกเรา ๆ ดื่มกันอยู่ทุกวันนี้ ผู้คนมักจะมองไม่เห็นคุณค่าค่ะ
แต่จริง ๆ แล้ว สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่างเลยนะคะ
ทางโครงการบอกว่า จะนำกล่องที่ได้ เอาไปผ่านกระบวนการ Recycle แล้วนำกลับมาทำเป็นสมุดเรียน เพื่อส่งไปให้น้อง ๆ ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนค่ะ
|
ทำไมต้องกล่อง ? |
กล่องเครื่องดื่ม หมายถึง กล่องที่ใช้บรรจุเครื่องดื่ม หรืออาหารเหลวประเภทนม น้ำผลไม้ ชา กาแฟ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. กล่องยูเอชที มีกระดาษ อะลูมิเนียมฟอยล์ และพลาสติก ประเภทโพลีเอททีลีน เป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยไม่ต้องแช่เย็น 2. กล่องพาสเจอไรซ์ มีส่วนประกอบเป็นกระดาษ และพลาสติก เท่านั้น จึงต้องแช่เย็น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่เก็บไว้ได้นาน |
|
ปัจจุบันกล่องเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติกล่องปลอดเชื้อที่คงคุณค่า และเก็บความสดใหม่ให้กับเครื่องดื่มได้นานถึง 6 เดือนโดยไม่ต้องใส่วัตถุกันเสีย และไม่ต้องแช่เย็น จึงปลอดภัย สำหรับผู้บริโภคทุกวัย โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่ต้องดื่มนมเป็นประจำ เมื่อไม่ต้องแช่เย็นก็ไม่ต้อง เปลืองค่าไฟ น้ำหนัก กล่องเบายังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการขนส่ง กระดาษซึ่งเป็นวัสดุหลักในการผลิตกล่อง มาจากสวนป่า ที่ปลูกทดแทนต่อเนื่องพร้อมหมุนเวียนมาใช้ใหม่ ( renewable) จึงไม่ต้องทำลายป่าไม้จากธรรมชาติ กล่องเครื่องดื่ม จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิต จนถึงการนำไปรีไซเคิล ซึ่งไม่มีส่วนใด เหลือทิ้งเป็นขยะเลย |
|
ในแต่ละปีกล่องเครื่องดื่มกว่า 3,000 ล้านใบ ถูกทิ้งไปโดยไม่มีใครรู้ถึงคุณค่า ว่ามันสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ดังนั้น เรามาเป็นผู้บริโภคที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเก็บกล่องเครื่องดื่มส่งไปรีไซเคิลกันเถอะ | ประโยชน์ที่ได้จากกล่อง | |
| กล่องเครื่องดื่มที่นำมาผลิตแผ่นไม้กระดาน จะถูกตัดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนที่จะนำมาโรยบนแผ่นเหล็ก เพื่อขึ้นรูปแผ่นตามความหนาที่ต้องการ จากนั้นจำนำเข้าเครื่องอัดร้อนที่อุณภูมิประมาณ 170 องศาเซลเซียส เพื่อหลอมพลาสติกที่มีอยู่ในกล่อง แล้วจึงนำไปเข้าเครื่องอัดเย็น ทั้งนี้ พลาสติกจะเป็นตัวยึดกระดาษและอลูมิเนียมให้ติดกันโดยไม่ต้องใช้กาว หรือสารเคมีใดๆ ในขั้นตอนการผลิต คุณสมบัติของแผ่นไม้กระดานที่ผลิตจากกล่องเครื่องดื่ม 1. ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ 2. สามารถกันน้ำได้อย่างดี 3. สามารถดัดโค้งและทำเป็นรูปร่างต่างๆได้ตามความต้องการ 4. ปราศจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งต่างจาก particleboard หรือ MDF 5. ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลักษณะพื้นผิว 6. เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงได้อย่างดี 7. สามารถกันปลวกได้ 100% และไม่เป็นผุยผง 8. สามารถเลื่อย ตัด ดัด ติดกาว เจาะและยึดด้วยตะปูได้เช่นเดียวกับแผ่นไม้ชนิดอื่นๆ | | นอกจากจะใช้ผลิตกระดาษรีไซเคิลแล้ว กล่องเครื่องดื่มยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี เช่น ที่รองแก้ว , ที่วางซีดี , ที่ใส่ของ , กระเป๋า และเครื่องใช้อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ด้านพลาสติกแล้ว สามารถที่จะตอบสนองความต้องการที่จะนำส่วนประกอบเหล่านี้ไปใช้ได้ อย่างไม่ยากเย็นนัก |
| | | | |
| | | | | รีไซเคิลอย่างไร ? | การรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มมีหลายทางเลือก แต่ที่แพร่หลายในหลายประเทศ และประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ คือ การแยกเยื่อกระดาษเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการผลิตเป็นแผ่นไม้กระดาน ( Green Board) การนำกล่องเครื่องดื่มมาผลิตเป็นไม้กระดาน กล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้ว จะถูกนำมาตัดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนที่จะนำมาโรยบนแผ่นเหล็ก เพื่อขึ้นรูปแผ่น ตามความหนาที่ต้องการ จากนั้นจะนำเข้าเครื่องอัดร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เพื่อหลอมพลาสติกที่ปนอยู่ แล้วจึงนำไปเข้าเครื่องอัดเย็น ทั้งนี้ พลาสติกจะเป็นตัวยึดกระดาษและอลูมิเนียมฟอยล์ให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน โดยไม่ต้องใช้กาวหรือสารเคมีใดๆ ในขั้นตอนการผลิต |
| คุณสมบัติของ greenboard 1. ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ และมีพื้นผิวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 2. กันน้ำได้ดี กันปลวกได้ 100% และไม่เป็นผุยผง 3. เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงได้อย่างดี 4. ดัดโค้งและทำเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ตามความต้องการ 5. สามารถเลื่อย ตัด ดัด ติดกาว เจาะ และยึดด้วยตะปูได้ เช่นเดียวกับแผ่นไม้ชนิดอื่นๆ 6. ปราศจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งต่างจาก particlebord หรือ MDF | การแยกเยื่อ เพื่อนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม ่ กล่องที่ใช้แล้ว จะถูกนำมาผ่านกรรมวิธีแยกเยื่อกระดาษออกจากแผ่นโพลีเอททีลีนและอลูมิเนียมฟอยล์ ด้วยถังตีกระดาษ หรือ "Pulpers" ซึ่งเฉลี่ยแล้ว กล่องกระดาษ 1 ตัน จะมีเยื่อกระดาษอยู่ประมาณ 600 กิโลกรัม โดยกรรมวิธีทั้งหมด ไม่ต้องใช้สารเคมีหรืออุปกรณ์พิเศษใดๆ เนื่องจากเยื่อกระดาษที่นำมาผลิตกล่อง ประกอบด้วยเยื่อใยยาว และเยื่อกึ่งเคมี ( CTMP) ที่ไม่เคยใช้งาน มาก่อน ( virgin pulp) เยื่อกระดาษเหล่านี้จึงมีความแข็งแรงกว่าเยื่อกระดาษจากกล่องกระดาษเก่า ( old corrugated carton boxes) ที่ผ่านการรีไซเคิลมาหลายครั้ง ดังนั้น เยื่อกระดาษที่ได้มาจากกล่องเครื่องดื่ม เหมาะที่จะนำมาทำเป็น กระดาษกล่องที่ต้องการความแข็งแรงสูง ส่วนพลาสติกและฟอยล์สามารถนำไปทำเป็นอุปกรณ์พลาสติกที่ต้องการ ความแข็งแรง เช่นด้ามจับกระทะ หรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลทั่วไป |
| |
|
|
กล่องที่พับแยกเก็บไว้แล้ว สามารถนำไปหยอดลองถังที่รับกล่องได้ตามจุดเหล่านี้ค่ะ
ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการฯ |
1 | โรบินสัน สาขารัชดา และลาดพร้าว |
2 | คาร์ฟูร์ 12 สาขาได้แก่ สาขาสุขาภิบาล 3, สุวินทวงศ์ , อ่อนนุช , สำโรง , เพชรเกษม , พระราม 4, บางแค , บางบอน , บางปะกอก , อิสรภาพ , รัชดาภิเษก และลาดพร้าว |
3 | เดอะมอลล์ 6 สาขาได้แก่ สาขารามคำแหง , ท่าพระ , บางแค , บางกะปิ , งามวงศ์วาน และดิเอ็มโพเรียม |
4 | เซ็นทรัล สาขาวังบูรพา |
5 | สยามพารากอน |
6 | บริษัท อิออนไทยแลนด์ จำกัด (จัสโก้) 6 สาขาได้แก่สาขารัชดาภิเษก , ศรีนครินทร์ , สุขาภิบาล 1, บางบอน , ประชาอุทิศ และสุขุมวิท 71 |
7 | เซ็นทรัลเวิลด์ |
8 | บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด 3 สาขาได้แก่ สาขาลาดพร้าว 95, รามอินทรา และจรัญสนิทวงศ์ 30 |
9 | บิ๊กซี 12 สาขา |
| |
ร้านสะดวกซื้อ ( รวมขยะรีไซเคิลใน 1 ถัง) |
1 | บริษัท ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) 50 สาขา |
2 | บริษัท ซันคัลเลอร์ จำกัด ( 108 shop) 25 สาขา |
นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ๆ จุดนะคะ สามารถเข้าไปดูรายชื่อได้ที่ link ด้านล่าง
เข้าไปดูรายละเอียดโครงการได้ตามเว็บนี้ค่ะ
http://www.thaibcg.com/
รายชื่อสถานที่ที่รับกล่อง
http://www.thaibcg.com/network/network.html
No comments:
Post a Comment